เศรษฐกิจพอเพียง ลักษณะเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง

มารู้จักความหมายของ เศรษฐกิจพอเพียง …เศรษฐกิจพอเพียงเริ่มต้นเมื่อใด

เศรษฐกิจพอเพียง คือ เป็นปรัชญาที่พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้มีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 40 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ (พ.ศ.2540) และภายหลังเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ดังกล่าว พระองค์ได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ และในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 จนถึงฉบับที่ 12 สศช. ได้อัญเชิญมาเป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาและบริหารประเทศ

ตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียง เป็น ปรัชญา เศรษฐกิจ พอ เพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัย ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

หลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงมีอะไรบ้าง

  1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีต่อความจำเป็นและเหมาะสมกับฐานะของตนเองในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ การดำเนินงานด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นโดยมีความพอดีที่ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป ไม่สุดโต่ง และต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น เป็นต้น รวมทั้งการบริหารทรัพยากรให้เกิดการใช้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
  2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจดำเนินการเรื่องต่างๆ ต้องเป็นไป อย่างมีเหตุผลยึดหลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักศีลธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมที่ดีงาม โดยคำนึงถึงเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างถ้วนถี่ ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ “รู้จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส อุปสรรค” และคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้นโดย “รู้เขา รู้เรา” รู้จักเลือกสิ่งที่ดีและเหมาะสมมาประยุกต์ใช้
  3. การมีภูมิคุ้มกันในตัวเองที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ รอบตัว ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และด้านอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่จะเกิดขึ้น เพื่อลดหรือบริหารความเสี่ยงให้สามารถปรับตัว และรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งนี้การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวที่ดี ควรต้องดำเนินการไปพร้อมๆ กับความมีเหตุผลและความพอประมาณ โดยหลีกเลี่ยงความต้องการที่เกินพอดีของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นการสร้างวินัยในตัวเองให้เกิดขึ้น เพื่อปกป้องตัวเองจากกระแสบริโภคนิยมหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากกระแสโลกาภิวัตน์ต่างๆ
  4. เงื่อนไขพื้นฐานสำคัญ ในการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงมี 2 ประการ คือ
    • เงื่อนไขคุณธรรม หมายถึง บุคคล ครอบครัว องค์กรและชุมชนที่จะนำปรัชญาของ เศรษฐกิจเพียงไปใช้ ต้องนำระบบคุณธรรม และความซื่อสัตย์สุจริตมาประพฤติปฏิบัติก่อน โดยเริ่มจากการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัว การศึกษา อบรมในโรงเรียน การสั่งสอนศีลธรรมจากศาสนาตลอดจนการฝึกจิตข่มใจตนเอง มีความขยันหมั่นเพียร อดทน มีหรือใช้สติและปัญญา มีความรอบคอบในการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติรู้รัก สามัคคี ไม่โลภ ไม่ตระหนี่ และรู้จักแบ่งปันให้ผู้อื่น
    • เงื่อนไขความรู้ หมายถึง การนำหลักวิชาและความรู้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ ทั้งใน
  5. การวางแผนและการประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติทุกขั้นตอน ด้วยความรอบรู้ รอบคอบ ทันโลก และระมัดระวังอย่างยิ่ง โดยสรุป ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 หลัก 2 เงื่อนไข หรือ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาไม่ใช่สูตรสำเร็จ

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักที่ต้องนำไปใช้ในการบริหารจัดการหรือดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดความเหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์ ดังนั้น จึงต้องใช้วิจารณญาณในการนำไปใช้ด้วยตัวเอง สิ่งสำคัญคือปรับใช้ให้พอเหมาะ พอดีอย่างเป็นเหตุเป็นผลกับกิจกรรมหรือวัฒนธรรมของภูมิสังคมของแต่ละแห่งด้วยความไม่ประมาท เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเหมาะสมต่อไป

หลักแห่งความพอเพียงก่อให้เกิดความพอดีและสมดุล

น่าจะเป็นการดีมากหากประเทศไทย เริ่มต้นด้วยหลักการที่เหมาะสมซึ่งสามารถครอบคลุมได้ทั้งการพัฒนาคนและการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ นั่นคือ หลักแห่งความพอเพียง

สรุปเศรษฐกิจพอเพียง นั้นปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่ ได้เริ่มเข้ามาเรียนรู้และยอมรับว่าหลักนี้เปิดกว้าง ไม่ได้เจาะจงเฉพาะด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการพัฒนาการเกษตรหรือเกษตรกรแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นเรื่องของความพอเพียง ความพอดี เป็นเรื่องวิวัฒนาการของการนำปรัชญาไปใช้กับสิ่งใดๆ ตั้งแต่ระดับที่ย่อยที่สุด คือ ระดับของตัวบุคคล ครอบครัว การเป็นอยู่ของชุมชนไปจนถึงการปฏิบัติหน้าที่การงาน หน่วยงานหรือองค์กรของรัฐ โรงเรียนและสถาบันการศึกษา การประกอบอาชีพของประชาชนและการทำธุรกิจของภาคเอกชน การบริหารจัดการหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ภูมิภาคและระดับประเทศและอาจไปถึงนโยบายแห่งความพอเพียงของโลก

บทความที่น่าสนใจ ambbetwallet

  • แจกเครดิตฟรีล่าสุด แค่ยืนยันเบอร์
  • เว็บสล็อต pg แตกง่าย 2021