การกักตัว 14 วัน

การกักตัว 14 วัน

การกักตัว 14 วัน กับการกักตัวหมายถึงผู้ที่เดินทางในสถานที่เอกเทศ ซึ่งดำเนินการโดยองค์กร หรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยใช้สถานประกอบการธุรกิจโรงแรม หรือ สถานที่ที่รัฐกำหนดให้เป็นสถานที่กักกันเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด 19 ตามหลักเกณฑ์ แนวทางที่รัฐกำหนด โดยองค์กรหรือหน่วยงานนั้นเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการและค่าใช้จ่ายทั้งหมด ในการดำเนินการกักกัน ภายใต้การกำกับดูแลคุณภาพในการป้องกันและควบคุมโรคอย่างเหมาะสม

การกักตัว14วันไม่ว่าที่บ้านหรือที่ที่รัฐจัดให้ คือหัวใจของการควบคุมโรคในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยง เพราะโรคนี้ 80%ไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย ทำให้ยากที่จะรู้ ครั้นจะเอามา swab ตรวจเชื้อทุกคนก็จะสิ้นเปลืองทรัพยากรมาก และถึงผลกรตรวจจะบอกว่า negative หรือไม่พบเชื้อ ก็ยังไม่อาจไว้ใจได้ ก็ยังต้องกักตัว 14 วันอยู่ดี ไปๆมาๆจึงเน้นการกักตัวคนที่เสี่ยง 14 วันไปเลยง่ายที่สุด

การกักตัว 14 วัน

การกักตัว 14 วันภาษาอังกฤษ มี 2 รูปแบที่สำคัญ แบบแรกคือการกักตนเองที่บ้านหรือ self home quarantine ดีที่สุด สะดวกที่สุด ผู้ถูกกักตัวมีความสุขที่สุด แต่ก็ต้องมีวินัย และต้องเป็นคนพอมีอันจะกินด้วย ส่วนรูปแบบที่สองคือ การกักตัวในที่ที่รัฐจัดให้ หรือ state quarntine ซึ่งจะสร้างความมั่นใจให้กับสังคมได้มากกว่า แต่ก็มีราคาแห่งค่าดำเนินการที่งบประมาณต้องจ่าย และราคาแห่งเสรีภาพที่ผู้ถูกกักต้องสูญเสียไป

สถานที่กักตัวที่เป็น state quarantine นั้นก็สำคัญมาก เพราะส่วนใหญ่ไม่ใช่คนมีเชื้อ และเราก็ไม่รู้ว่าใครมีเชื้อ ดังนั้นจึงต้องกักตัวในห้องเดี่ยว ไม่เอาไปนอนรวมกัน ห้องสองคนสามคนนั้นก็ไม่ได้ เพราะหากมี 1 คนติดเชื้อคนที่เหลือก็จะติดเชื้อไปด้วย

กลุ่มเสี่ยงที่กลับจากต่างประเทศ กลับจากเมืองที่มีการระบาด หากเสี่ยงมากจึงควรได้รับการดูแลกักตัว 14 วันโดยรัฐก่อนกลับสู่ชุมชน หากเสี่ยงน้อยก็สามารถให้กลับบ้านไป การกักตัว 14 วัน ที่บ้านได้ แต่ต้องมีระบบการติดตามเยี่ยมหรือเฝ้าระวังจากคนในชุมชน

การกักตัวเองที่บ้านนั้น มีความยากที่สุดคือปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจ แพทย์อินเดียเคยเสนอบทความว่า Home quarantine is priviledge คือการกักตัวที่บ้านนั้นคือกลุ่มอภิสิทธิ์ชน หมายความว่า เขาต้องมีบ้านหลังใหญ่พอ มีห้องนอนมากพอ มีคนดูแลส่งข้าวส่งน้ำ มีเงินออมที่ไม่ต้องทำงาน 14 วันก็มีข้าวกิน เป็นต้น ซึ่งคนจนนั้นไม่ใช่เขาไม่เข้าใจ แต่ด้วยเงื่อนไขปัจจัยของเขา เขาไม่สามารถจะทำได้

การกักตัว 14 วัน

จุดประสงค์ของ การกักตัว 14 วัน

เพื่อเป็นการกักกันผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ ทั้งที่มีสัญชาติไทย หรือไม่มีสัญชาติไทย ซึ่งเป็นบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่เป็นสมาชิกขององค์กรที่เดินทางมาปฏิบัติภารกิจขององค์กร ตัวอย่างเช่น ทำงานตามสัญญา ว่าจ้างและมีเอกสารจ้างงาน (Work Permit) กลุ่มนักเรียน/นักศึกษา การฝึกทางการทหาร เป็นต้น โดยองค์กรหรือหน่วยงานนั้นต้องรับผิดชอบในการบริหารจัดการ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการดำเนินการกักกัน และจัดหาบุคลากรในการดูแลเฝ้าระวังอาการ รวมทั้งส่งต่อการรักษาพยาบาล หรือประสานหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง โดยการดำเนินงานอยู่ภายใต้การกำกับดูแลคุณภาพในการป้องกันและควบคุมโรคอย่างเหมาะสม ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และสอดคล้องกับประกาศ กฎหมายที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ

บุคคลผู้เข้ากักกัน ใน Organizational Quarantine ขึ้นอยู่กับประเภทบุคคลตามคำสั่งศูนย์บริหาร สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ที่ 7/2563 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2558 (ฉบับที่ 6) หรือฉบับล่าสุด (ถ้ามี) ซึ่งมีทั้งกลุ่มบุคคลที่ต้อง การกักตัว 14 วันนับยังไง อย่างน้อย 14 วัน หรือไม่ถึง 14 วัน ขึ้นกับระยะเวลา และวัตถุประสงค์ในการเข้ามาในราชอาณาจักร

กรณีที่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติงานในสถานที่เฉพาะ ซึ่งจำเป็นต้องอยู่ในสถานที่เดียวกับที่พัก ต้อง กำหนดให้มีทีมติดตามด้านการแพทย์และสาธารณสุข ทั้งนี้ต้องมีการวางแผน กำหนดแนวทาง และการบริหาร จัดการร่วมกับเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ และดำเนินการตามแผนการอย่างเคร่งครัด

ขั้นตอนการขออนุญาตดำเนินการ Organizational Quarantine โดยองค์กรหรือหน่วยงานทั้ง ภาครัฐและเอกชน

  1. หน่วยงานหรือองค์กรนั้น ๆ ศึกษาหลักเกณฑ์และแนวทาง (1) แนวทางการจัดตั้งและดำเนินการ Organizational Quarantine และ (2) แนวทางบริหารจัดการสถานที่กักกันซึ่งทางราชการ กำหนด (Quarantine Facility) ดังรายละเอียดเอกสารในส่วนที่ 3
  2. หน่วยงานหรือองค์กรนั้น ๆ เป็นผู้จัดหาสถานที่กักกันตัวและโรงพยาบาลคู่ปฏิบัติการ (โรงพยาบาลภาครัฐหรือภาคเอกชนก็ได้) ที่รับผิดชอบดูแลด้านสุขภาพและการควบคุมโรค ภายใต้รูปแบบสัญญาหรือบันทึกข้อตกลงร่วมมือ (MOU) หรือเอกสารทางการที่ระบุรายละเอียด ของความร่วมมือนั้น
  3. หน่วยงานหรือองค์กรยื่นเรื่องขอรับการตรวจสอบการจัดตั้งและดำเนินการ Organizational Quarantine มายังอธิบดีกรมควบคุมโรค ในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ซึ่งมีคณะทำงานด้านวิชาการ สำหรับการตรวจสอบเอกสารและมาตรการของสถานที่กักกัน รูปแบบเฉพาะองค์กร ก่อนถึงวันเปิดใช้งาน Organizational Quarantine อย่างน้อย 14 วันทำการ พร้อมทั้งแนบเอกสารหลักฐานประกอบ ดังต่อไปนี้
    1. เอกสารทางราชการที่ยืนยันได้ว่าหน่วยงานหรือองค์กรเป็นหน่วยงานหรือองค์กรที่ได้รับ อนุญาตให้ดำเนินภารกิจนั้น ๆ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
    2. แนวทางการปฏิบัติ (SOP) ในการดำเนินการระหว่างกักกันที่จัดทำร่วมกันโดยหน่วยงานที่ ทำสัญญาหรือข้อตกลงร่วม และมาตรการควรจะต้องระบุถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
      1. ที่พัก และลักษณะของที่พัก
      2. แนวทางการจัดการด้านอาหารและน้ำ / สถานที่ประกอบอาหาร
      3. ห้องน้ำ และพื้นที่อาบน้ำ
      4. การทำความสะอาดพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง
      5. การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม การบำบัดน้ำเสีย และการจัดการขยะ ติดเชื้อ
      6. การจัดพื้นที่และกระบวนการสำหรับทำกิจกรรม (รูปแบบเฉพาะองค์กรนั้น ๆ) ที่ปลอดภัยในการควบคุมและป้องกันโรค รวมถึงมาตรการระดับบุคคล
      7. ในกรณีที่ นอนพัก หรือมีกิจกรรมร่วมกันมากกว่า 1 คน ต้องแสดงเอกสารลง นามยินยอมรับความเสี่ยงประกอบด้วย
      8. แนวทางการดำเนินการด้านการแพทย์ ที่จะเข้าไปให้การดูแล พร้อมบันทึก ข้อตกลงร่วม (ถ้ามี)
    3. กรณีที่ระหว่างการกักกัน จะให้ผู้ถูกกักกันมีการปฏิบัติงาน การประชุมหรือลงนามใน สัญญาทางธุรกิจ ให้อธิบายรายละเอียดแนวทางดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ทราบ เพื่อร่วมในการกำหนดแนวทาง วิธีการ
    4. รูปถ่ายของสถานที่ อุปกรณ์ และกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยสื่อให้เห็น รายละเอียดของขั้นตอน และกระบวนการในการดำเนินการ เช่น ห้องพัก เครื่องปรับอากาศ ระบบระบายอากาศ การซักผ้า การเก็บขยะและสิ่งปฏิกูล เป็นต้น
    5. หลักฐานสัญญาหรือบันทึกข้อตกลงระหว่างหน่วยงาน องค์กรนั้น ๆ กับโรงแรมและ โรงพยาบาลรัฐหรือเอกชน ที่รับผิดชอบการดำเนินการ Organizational Quarantine ร่วมกันในส่วนการสนับสนุนด้านการแพทย์และการควบคุมโรค โดยมี SOP ที่ระบุให้เห็นถึงบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ และกิจกรรมที่หน่วยงานด้านการแพทย์จะดำเนินการ ให้กับ Organizational quarantine นั้น ๆ
  4. เจ้าพนักงานโรคติดต่อและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ออกตรวจประเมินในสถานที่จริงก่อนที่จะ อนุญาตให้หน่วยงานหรือองค์กรนั้น ๆ ดำเนินการ ตามแนวทางที่คณะกรรมการโรคติดต่อ แห่งชาติเป็นผู้กำหนด โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 มาตรา 34
  5. คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด กำหนดมอบหมายเจ้า พนักงานโรคติดต่อเพื่อรับผิดชอบในแต่ละ Organizational Quarantine ในการให้คำแนะนำ ตรวจสอบและประเมินคุณภาพการดำเนินการ
  6. หน่วยงานหรือองค์กรนั้นๆ จะดำเนินการได้ภายหลังได้รับคำสั่งอนุญาตจากคณะกรรมการ โรคติดต่อแห่งชาติ หรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/คณะกรรมการโรคติดต่อ กรุงเทพมหานคร
การกักตัว 14 วัน

ระเบียบการปฏิบัติสำหรับผู้ถูกกักกันตัว ในสถานที่กักกันซึ่งราชการกำหนด

  1. การเข้าพักเพื่อควบคุมโรคเป็นระยะเวลา 14 วันโดยนับวันที่ ที่เข้าสู่ราชอาณาจักรไทยเป็น วันที่ 0 (Day 0) และวันรุ่งขึ้นเป็นวันที่ 1 (Day 1) จนครบ 14 วัน แล้วจึงจะได้รับอนุญาตให้ ออกจากสถานที่กักกันได้ในวันรุ่งขึ้น (Day 15)
  2. ห้าม ออกนอกสถานที่ที่กำหนดไว้ หากมีความจำเป็นให้แจ้งเจ้าหน้าที่ประสานงาน หรือเจ้า พนักงานควบคุมโรคติดต่อเพื่อขออนุมัติ
  3. ห้าม บ้วนน้ำลาย เสมหะ สั่งน้ำมูก ลงบนพื้น
  4. ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายด้วยตนเองภายในห้องพัก และถ่ายรูปรายงานอุณหภูมิพร้อมอาการ มายังช่องทางที่กำหนดไว้ให้ เช่น ไลน์กลุ่ม หรือช่องทางอื่น ๆ ที่จะมีการจัดตั้งให้ ณ ตอน ลงทะเบียนห้อง
  5. เมื่อมีอาการผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น ไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก เจ็บคอ โปรด โทรแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ดูแลในพื้นที่ทันที
  6. ล้างมือด้วยน้ำสบู่หรือ Alcohol gel ทุกครั้งหลังไอ จาม ก่อนรับประทานอาหาร และหลัง เข้าห้องน้ำ
  7. ซักล้างทำความสะอาดเสื้อผ้าเองทุกวัน หรือ นำเสื้อผ้ามาใส่ถังที่จัดไว้หน้าห้องเพื่อส่งให้ เจ้าหน้าที่ซักล้างต่อไป (แล้วแต่ความเหมาะสมของพื้นที่แยกกักในการบริหารจัดการ)
  8. ทิ้งขยะมูลฝอยในถังขยะติดเชื้อที่จัดไว้ให้หน้าห้อง
  9. ผู้ถูกกักกันทำความสะอาดภายในห้องพักด้วยตนเอง และนำขยะมูลฝอยทิ้งในถังขยะติดเชื้อ ที่จัดไว้ให้บริเวณหน้าห้อง
  10. ในบริเวณพื้นที่ส่วนกลาง ที่อยู่นอกพื้นที่พักส่วนตัว ควรมีผู้ทำความสะอาดให้เป็นส่วนรวม ตามวงรอบ เช่น 2-3 วัน ครั้ง เป็นต้น
  11. ขอสงวนสิทธิ์ การพบญาติตลอดระยะเวลา 14 วัน โดยการฝากของเยี่ยม ควรเป็นประเภท ของใช้จำเป็นส่วนตัวเท่านั้น ขอความร่วมมือหลีกเลี่ยงการเยี่ยมด้วยของฝากประเภทอาหาร และเครื่องดื่ม ด้วยเหตุว่า ผู้ที่อยู่ในระหว่างการควบคุมโรคควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุก ใหม่ และสะอาดเท่านั้น ซึ่งได้มีบริการไว้ให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว  
  12. การนำส่งสิ่งอุปกรณ์ หรือของฝากต่าง ๆ จะกำหนดเป็นวันละ 1 รอบเท่านั้นโดยทางเจ้าของ พื้นที่จะเป็น ผู้กำหนดเวลาที่เหมาะสม
  13. ห้ามดื่มสุรา หรือเสพของมึนเมาในพื้นที่ควบคุมโรค
  14. เมื่อผู้เข้าพักได้รับการดูแลและควบคุมโรคในสถานที่ควบคุม ครบ 14 วัน จะได้รับหนังสือ รับรอง เพื่อแสดงแก่ผู้เกี่ยวข้องต่อไป