ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ปัจจุบันการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวทางเลือกใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจเพิ่มมากยิ่งขึ้น จากหมู่นักเดินทางท่องเที่ยว โดยการท่องเที่ยวรูปแบบนี้เป็นการให้ความสำคัญต่อการเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ท่องเที่ยว และดำเนินรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

การท่องเที่ยวอันหลากหลายมิติจากภูมิภาคต่างๆของโลกที่มีความโดดเด่นในรูปแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและการท่องเที่ยวเชิง นิเวศ เช่น แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยว เชิงนิเวศ และแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน 

การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นรูปแบบหนึ่งของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน หมายถึง การท่องเที่ยวที่ ก่อให้เกิดผลทางเศรษฐกิจ โดยการใช้ทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ การ ท่องเที่ยว เชิง นิเวศ ใน ประเทศไทย มีความมั่นคงยั่งยืนอยู่คู่สังคมมนุษย์ และก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ฉะนั้น แนวคิดของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์จึงไม่ใช่เพียงการท่องเที่ยวเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ที่มุ่งเสนอขายสินค้า หรือบริการทางการท่องเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวอย่างเดียว หากยังมุ่งประสาน ผลประโยชน์ทางการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและวัฒนธรรมอีกด้วย จึงนับได้ว่า การท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนให้การท่องเที่ยวพัฒนาไปอย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ สามารถสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว สามารถสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ และสร้างความพอใจ ให้แก่ประชาชนเจ้าของท้องถิ่น ในขณะเดียวกันก็ปกปักรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อม ทางการท่องเที่ยวให้คงอยู่คู่สังคมมนุษย์นานที่สุดเท่าที่จะนานได้

ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

บทบาทของรัฐบาลในการส่งเสริม การ ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ คือ

  1. รัฐบาลควรทำการศึกษาวิจัยถึงผลกระทบของการท่องเที่ยวที่มีต่อเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนแม่บทส่งเสริมพัฒนาการ   ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างจริงจัง โดยคำนึงถึง 2 ด้านพร้อมกันไป คือ ด้านความเป็นไปได้ในการประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว และด้านการ ป้องกันผล กระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการท่องเที่ยว
  2. รัฐบาลควรร่วมมือกับธุรกิจการท่องเที่ยวภาคเอกชนในการส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มากขึ้น โดยจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิง อนุรักษ์มากขึ้น โดยจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีภาคเอกชนเข้าร่วมด้วย
  3. รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการศึกษาและปลูกฝังจิตสำนึกของคนในชาติต่อการพัฒนาการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ โดยแทรกการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิง อนุรักษ์ไว้ในหลักสูตรทุกระดับ และสนับสนุนให้เปิด หลักสูตรการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขึ้นในระดับอุดมศึกษา
  4. รัฐบาลควรออกกฎหมายในการควบคุมดูแลผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวและนำกฎหมาย มาใช้อย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นหลักประกันในด้านความสงบเรียบร้อย และสุนทรียภาพของทรัพยากร ทางการท่องเที่ยว
  5. รัฐบาลควรกำหนดมาตรฐานการออกแบบก่อสร้าง พร้อมทั้งระบบตรวจสอบขีดความสามารถ ในการรองรับนักท่องเที่ยวของแต่ละพื้นที่การท่องเที่ยวอย่างสม่ำเสมอ และมีมาตรการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ด้วย

 บทบาทของเอกชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

  1. ผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวและประชาชนเจ้าของท้องถิ่น ควรมีจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากร การท่องเที่ยวอย่างหวงแหนในคุณค่า
  2. ผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวควรดูแลไม่ให้เกิดผลกระทบทางด้านลบต่อการท่องเที่ยว เช่น การลดมลพิษจากการขนส่ง การติดตั้งเครื่องบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพในธุรกิจโรงแรมหรือภัตตาคาร เป็นต้น
  3. ผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวควรมีโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเขิงอนุรักษ์ ตลอดจนให้ คำแนะนำแก่นักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการ เพื่อลดผลกระทบที่อาจมีต่อสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น
  4. ผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวควรหมั่นตรวจสอบ และประเมินผลเกี่ยวกับการรักษาสภาพแวดล้อม ในหน่วยงานต่าง ๆ ภายในธุรกิจของตนเองอย่าง  สม่ำเสมอ โดยเฉพาะระบบกำจัดขยะและน้ำเสีย
  5. ผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวและประชาชนเจ้าของท้องถิ่น ควรให้ความร่วมมือกับภาครัฐ ในการสนับสนุนโครงการ หรือกิจกรรมที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

บทบาทของนักท่องเที่ยวในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

  1. นักท่องเที่ยวควรเลือกใช้บริการของผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวที่แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือ สนับสนุนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
  2. นักท่องเที่ยวควรท่องเที่ยวอย่างมีจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อม โดยไม่ทำลายทรัพยากรทางการท่องเที่ยว ทั้งที่รู้และรู้เท่าไม่ถึงการณ์ พร้อมทั้งระมัดระวังพฤติกรรมที่อาจมีผลเสียต่อวัฒนธรรมและ สิ่งแวดล้อมท้องถิ่นนั้น ๆ
  3. นักท่องเที่ยวควรปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ และข้อแนะนำของแหล่งท่องเที่ยวที่ไปท่องเที่ยวอย่าง เคร่งครัด และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวนั้นล่วงหน้า เพื่อจะได้ช่วยอนุรักษ์ ให้คงอยู่คู่การท่องเที่ยวให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้
  4. นักท่องเที่ยวควรงดซื้อสินค้าหรือบริการที่ทำลายนิเวศวิทยาและวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้น เช่น สัตว์ป่า โบราณวัตถุ ปะการัง เป็นต้น
  5. นักท่องเที่ยวควรให้ความร่วมมือกับรัฐบาลและผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวในโครงการหรือกิจกรรม ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้ท้องถิ่นที่ไปท่องเที่ยว
  1. การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์จะมีการพิจารณาที่ลึกซึ้งและให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์เป็นหลัก ซึ่งสามารถระบุวัตถุประสงค์ได้ ๔ ประการ คือ
  2. เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ที่มีคุณภาพหรือคุณค่าสูงให้แก่นักท่องเที่ยวหรือผู้มาเยือนแหล่งท่องเที่ยว
  3. เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชุมชนที่แหล่งท่องเที่ยวตั้งอยู่
  4. เพื่อดูแลรักษาและคงไว้ซึ่งคุณภาพสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว

นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่น่าสนใจของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมด้วย

ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

วัตถุประสงค์ การ ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ แนะนำ 5 อันดับสถานที่ท่องเที่ยว

อันดับที่ 1 เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

  • เมืองแห่งวิถีสโลว์ไลฟ์ที่แท้ทรู เมืองท่องเที่ยวทั้งเชิงวิถีไทยและเชิงอนุรักษ์ ตั้งอยู่ในเขต อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
  • เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการหนีห่างจากความวุ่นวายในเมือง ชุมชนเล็ก ๆ ที่แสนอบอุ่น
  • การดูแลต้อนรับจากชาวบ้านในชุมชนที่ให้ความรู้สึกเหมือนกลับบ้าน
  • เรียนรู้วิถีชีวิตแบบชนบทชาวเหนือด้วยกิจกรรมภายในโฮมสเตย์
  • ในหมู่บ้านไม่มีโรงแรมและการลงทุนทำธุรกิจจากภายนอก มีเพียงธุรกิจชุมชนที่อาศัยการร่วมแรงร่วมใจจากชาวบ้านในท้องที่เพื่อสร้างหมู่บ้านแห่งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แห่งนี้

อันดับที่ 2 เกาะพระทอง จังหวัดพังงา

  • เกาะพระทอง เกาะที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดพังงา และใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของไทย
  • เกาะพระทองมีป่าชายเลนที่กว้างที่สุดในไทย 
  • มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติด้วยเรือคายัค ที่ช่วยสร้างห้องเรียนนอกสถานที่จากการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้กับคุณ
  • มีทุ่งหญ้าสีทองที่เป็นไฮท์ไลท์ของเกาะ ทุ่งหญ้าที่ได้รับการขนานนามว่า  “ทุ่งหญ้าสะวันนาเมืองไทย” หรือ “ทุ่งหญ้าซาฟารี”

อันดับที่ 3 ป่าดงพญาเย็น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

  • ป่าดงพญาเย็นในเขตพื้นป่ามรดกโลก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
  • วิถีท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขนานแท้ ธรรมชาติที่สมบูรณ์ กับกิจกรรมสำรวจธรรมชาติ
  • การถ่ายทอดองค์ความรู้จากเจ้าหน้าที่อุทยานที่มีความเชี่ยวชาญ
  • เหมาะสำหรับผู้ที่หลงรักการผจญภัยในป่าใหญ่ การเดินป่าที่เส้นทางไม่ได้ลำบากมากจนเกินไป

อันดับที่ 4 ทุ่งใหญ่ปากพลี จ.นครนายก

ทุ่งใหญ่ปากพลี อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่เหล่าบรรดาผู้ชื่นชอบนก ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคมของทุกปี  “นกเหยี่ยวหูดำ” จะบินอพยพถิ่นฐานจากรัสเซีย จีน มองโกเลีย เกาหลี และญี่ปุ่น มาปะปนกับนกเหยี่ยวดำประจำถิ่นหลายพันหลายหมื่นตัว สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้พบเห็น

อันดับที่ 5 อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

  • ความสวยงามและความสมบูรณ์ของป่าจนทำให้ได้รับขนานนามว่า “ซาฟารีเมืองไทย”
  • อุทยานมีความหลากหลายทางระบบนิเวศและชีวภาพ เป็นแหล่งรวมสัตว์ป่า และพรรณไม้หายาก
  • เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวต่างชาติมากกว่านักท่องเที่ยวชาวไทย
ท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์

สรุป

จะเห็นได้ว่าการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มีจุดมุ่งหมายหลักในการสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นระหว่าง กระแสการพัฒนาทางเศรษฐกิจกับกระแสอนุรักษ์ จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องช่วยกันส่งเสริมเพื่อให้การท่องเที่ยวบรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าวทั้งนี้จำต้องอาศัยความร่วมมือสนับสนุนส่งเสริมจากทุกฝ่าย ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ทั้งฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายเอกชน และฝ่ายนักท่องเที่ยวเอง ซึ่งทั้ง 3 ฝ่าย ต่างก็มีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์